โดย ทญ.ชนากานต์ สินเสรีกุล
นิสิตหลักสูตรวุฒิบัตร สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์
อ.ทพ.ศิรวุฒิ หิรัญอัศว์
อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมหัตถการ
ปัจจุบันมีการใช้ Bioceramic sealer กันมากขึ้น เพราะคุณสมบัติที่ดีกว่า sealer เดิม แต่คำถามสำคัญข้อหนึ่ง ที่อย่าว่าแต่คนส่วนมากเลย หมอเอ็นโดเองก็ยังชอบถามเลยว่า
“แล้วถ้าต้อง retreat หล่ะ จะรื้อมันออกได้ไหม” (เอาตรงตรงนะเราไม่ได้ทำงาน เพื่อเตรียม retreat เราต้องทำให้ดีที่สุด แล้วไม่มีการกลับมารื้อใหม่ต่างหาก แต่มันก็มีหลายกรณีที่จำเป็นจะต้องรื้อจริงๆ)
การทำจะกำจัดวัสดุอุดคลองรากเก่าธรรมดาออกให้หมด ก็ยังพบว่าไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคพิเศษ น้ำยา หรือเครื่องมือใดๆ
งั้นก็เป็นคำถามที่น่าสนใจละ ว่าถ้าเป็น Bioceramic sealer จะจัดการกับมันยังไงดี
เลยลองนำ supplementary cleaning protocol ที่มีในไทยและมีผลที่ค่อนข้างดีใน literatures มาสองวิธี คือ การใช้ passive Ultrasonic irrigation(PUI) มาใช้กระตุ้นน้ำยา กับ การใช้เครื่องมือ Rotary file ที่ออกแบบมาไว้ทำความสะอาดคลองรากแต่ไม่ตัดเนื้อฟัน
อย่างไรก็ตามพอดูการศึกษาในอดีต ใครๆก็ใช้แต่เทคนิคพิเศษต่างๆ แล้วบอกว่ามันกำจัดวัสดุได้ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ แต่ไม่มีใครทำ control ที่เป็นเข็มล้าง เหมือนที่ทุกๆคนทำกันจริงในคลินิก แล้วจะรู้ได้ยังไงว่ามันดีกว่าที่ใช้เข็มล้างกันอยู่ เลยขอเพิ่มกลุ่มนี้เข้าไปหน่อย เพื่อจะได้พิสูจน์ได้ว่า เทคนิคทั้งสองนั้น ทำความสะอาดได้ดีกว่าวิธีปกติที่ทำกันอยู่จริงๆ
การทดลองทำโดยดูภาพ micro-CT เพื่อเปรียบเทียบ ปริมาตรวัสดุที่หลงเหลืออยู่ข้างใน เมื่อรวมกับ pilot ที่ทำแล้วก็ร่วมแสนภาพ เป็น strength สำคัญของของการศึกษา และเป็น non-destruction method ที่ช่วยลดความผิดพลาด และ bias ที่อาจเกิดจากวิธีการอื่น เช่น การตัดฟันออกมาเพื่อตรวจสอบ
จริงๆหลังจากใช้โปรแกรมคำนวณผลจากตอน pilot แล้วพบว่า สามกลุ่มใช้กลุ่มตัวอย่าง n=2 ก็พอ เพราะมันมีความแตกต่างกันมากจนเห็นได้ชัดเจน แต่สุดท้ายขอเพิ่ม n=12 สามกลุ่ม 36 ชิ้น เพื่อเพิ่ม power of study และเป็นการศึกษาแรก ที่ดู Bioceramic sealer ในแต่ระดับของคลองรากฟัน 😊
XP Endo Finisher R ทำความสะอาดได้ดีที่สุด ตามด้วย PUI และการล้างด้วยเข็มปกติ (44%, 23%, 11% reduction) ซึ่งผลในแต่ละระดับของรากฟันก็สอดคล้องไปกับ Total volume
พอทบทวน literatures มากขึ้น เพื่อเขียนบทวิจารณ์เราก็ได้เรียนรู้ และเข้าใจอะไรมากขึ้น
เราพบ ความแตกต่าง ระหว่าง สองเทคนิคในแทบทุกการศึกษา และได้ข้อสรุปเหมือนกับ systematic review ว่า การทำความสะอาดด้วย direct mechanical contact เช่น XP-Endo finisher-R จะทำความสะอาดได้ดีกว่า เพราะมีการสัมผัสโดยตรง ต่างกับการใช้การกระตุ้นน้ำยาด้วยพลัง ultrasonic ที่จะให้ผลน้อยกว่า และอีกจุดที่พบเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละการศึกษาจะพบว่า ปริมาณน้ำยากับเวลาที่ใช้ในการล้าง ก็แปรผันตามความสามารถในการทำความสะอาดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังคงไม่มีวิธี หรือเทคนิคไหนที่ทำให้เราสามารถเอาวัสดุเหล่านั้นออกมาได้หมดจริงๆ
โดยสรุป การทำ supplementary cleaning ด้วยวิธีทั้งสอง สามารถช่วยให้กำจัดวัสดุอุดคลองรากฟันที่เป็น Gutta percha + Bioceramic sealer ได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
Authors denied any conflict of interest related to these commercial products.
ขอบคุณทุนวิจัยอาจารย์ของคณะ และทุนร่วมจากสมาคมเอ็นโดดอนติกส์ไทย ที่สนับสนุนในการทำวิจัย รวมถึงคำแนะนำและความช่วยเหลือจากผู้มีส่วนร่วมทุกคน
https://doi.org/10.1007/s00784-021-04320-w