อาจารย์และนิสิต คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผศ.ทญ.ดร. พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์ และ อ.ทญ.ดร. นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา ร่วมกับนิสิตทันตแพทย์ นทพ.พศุตม์ ชัยบุญ และนทพ. จิรนาท จรูญเวชธรรม ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน myRisk สำหรับการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุ โดยสามารถใช้ได้สำหรับบุคคลทั่วไปและทันตแพทย์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับแบบทดสอบความเสี่ยงโรคฟันผุของ American Dental Association พบว่ามีความถูกต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เมื่อตอบแบบสอบถามแล้วสามารถประมวลผล และรายงานระดับความเสี่ยงโรคฟันผุ ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย แยกตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละด้าน ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุของตัวเองได้ง่าย และใช้เป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากได้
การที่แบบประเมินอยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชันทำให้สามารถเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้ง่ายขึ้น สามารถใช้กับสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ android ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้ การทำแบบประเมินความเสี่ยงอย่างง่ายด้วยตนเองทำให้บุคคลทั่วไปมีความตระหนักและรับรู้สภาวะสุขภาพช่องปากของตัวเอง ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ในการโน้มน้าวให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจการดูแลสุขภาพช่องปากได้มากขึ้น
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอร่วมแสดงความยินดีแก่ทีมอาจารย์และนิสิตที่ได้พัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบทางสังคม เพื่อตอบสนองการใช้งานตามเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังสามารถใช้ประโยชน์ในวงกว้างสำหรับวงการทันตสาธารณสุขของประเทศไทย แอปพลิเคชัน myRisk อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อนำเข้าระบบ และสามารถดาวน์โหลดใช้ได้ทาง Play Store เร็ว ๆ นี้
Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University develops innovation for simple dental caries risk assessment. This smartphone application was designed for both the general public and dental health personnel for initial self-assessment.
Assistant Professor Dr. Palinee Detsomboonrat, Dr. Nipaporn Urwannachotima and 2 dental students, Jiranat Jaroonvechata and Pasut Chaiboon developed myRisk mobile application for self-assessment caries risk assessment. It can be used for both the general public and dentists. Compared to the American Dental Association’s caries risk test, it was found to be at an acceptable level. After answering the questionnaire on smartphone application, it can be processed and reported the level of dental caries risk in an easy-to-understand format, classified according to each risk factor. This application are user-friendly and easy for the general public to assess their own caries risk. The report can be used as information to modify behaviors related to oral health care.
Faculty of Dentistry Chulalongkorn University Congratulations to the team who have developed innovations that have a high social impact. The myRisk application will be available for download on the Play Store soon.